วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการตัดสินใจแบบตาราง (Decision Tables )


วิธีการตัดสินใจแบบตาราง (Decision Tables )
วิธีการตัดสินใจแบบตารางเป็นตารางแบบ มิติ โดยที่แถวตั้งด้านซ้ายเป็นเงื่อนไข และแถวนอนเป็นรายละเอียดของเงื่อนไขและผลของการตัดสินใจ เงื่อนไขก็คือ สิ่งที่มีค่าเปลี่ยนแปลงได้ เช่น จำนวนเงินในใบทวงหนี้ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าควรตัดสินใจอย่างไร เช่น ถ้าจำนวนเงินต่ำกว่า 25,000 บาท ไม่ต้องรอการอนุมัติจ่ายเงิน เป็นต้น
เงื่อนไข
การตัดสินใจ
จำนวนเงินในใบทวงหนี้
< 25,000
อนุมัติจ่ายเงิน
Y


ในตัวอย่างการตัดสินใจแบบตารางข้างบนนี้ แถวตั้งเป็นเงื่อนไข หรือตัวแปรคือ จำนวนเงินในใบทวงหนี้ แถวนอนเป็นค่าตัวแปร คือ น้อยกว่า 25,000 บาท ดังนั้นการอนุมัติจ่ายเงินคือ " Y " ซึ่งหมายความว่า " Yes " คือ ให้จ่ายเงินได้ แต่ที่จริงแล้วค่าของจำนวนเงินที่เป็นไปได้มีมากกว่านี้ และเงื่อนไขก็มีมากว่านี้ด้วย ซึ่งพอสรุปออกมาเป็นตารางเงื่อนไขดังนี้
เงื่อนไข
ค่าที่เป็นไปได้
1. จำนวนเงินในใบทวงหนี้
a. น้อยกว่า 25,000
b. ระหว่างc. 25,000 ถึงd. 250,000
e. มากกว่า 250,000
2. วันค้างจ่าย
a. น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 วัน
b. มากว่า 10 วัน
3. ส่วนลดถ้าจ่ายเร็ว
a. มี
b. ไม่มี

ดังนั้นตารางการตัดสินใจจะต้องขยายออกไปอีก หลักการตั้งตารางตัดสินใจเริ่มจากเงื่อนไขก่อนโดยที่จำนวนแถวนอนของตารางจะมีเท่ากับจำนวนเงื่อนไขบวกหนึ่งสำหรับหัวตาราง จากตารางข้างบนนี้เรามี เงื่อนไข เพราะฉะนั้นเราต้องสร้าง แถวนอน สำหรับจำนวนแถวตั้งจะมีเท่ากับผลคูณของค่าตัวแปรที่เป็นไปได้ทั้งหมดบวก แถว สำหรับเขียนคำอธิบาย ดังนั้นจำนวนแถวตั้งจะมีเท่ากับ 3 (จำนวนค่าที่เป็นไปได้ของจำนวนเงินในใบทวงหนี้) คูณ 2 (ค่าที่เป็นไปได้ของวันค้างจ่าย) และคูณ 2 (มีส่วนลดหรือไม่) บวกกับอีก ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 13 ดังตารางของเราจะมี 13 แถวตั้ง และ แถวนอน
จากตารางตัดสินใจที่ได้มานั้นมันออกจะใหญ่เกินไป และมีหลายกรณีที่เงื่อนไขไม่มีความหมายและให้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าจำนวนเงินน้อยกว่า 25,000 บาท เราไม่จำเป็นต้องสนใจเงื่อนไขวันค้างจ่ายหรือส่วนลด ดังนั้นเราอาจจะทำให้ตารางสั้นเข้าได้ เงื่อนไขที่ไม่ได้ใช้เราจะเขียนแทนด้วยเครื่องหมาย " - " ในแถวตั้งที่ไม่จำเป็นออก เราจะยุบแถวตั้งดังในตารางข้างล่างนี้

1
2
3
4
5
จำนวนเงินในใบทวงหนี้
< 25,000
25,000 – 250,000
25,000 – 250,000
25,000 – 250,000
> 250,000
วันค้างจ่าย
-
<= 10
<= 10
<= 10
-
ส่วนลด
-
Y
N
-
-
ตัดสินใจ
A
A
S
A
P
A = จ่ายเงิน            S = เก็บใจทวงหนี้ไว้รอการตัดสินใจ                                 P = พิมพ์รวมเพื่อเตรียมเงินสด

การเขียนตารางการตัดสินใจให้ผลออกมาเหมือนกับการเขียนด้วยประโยคโครงสร้างแต่การทำความเข้าใจสำหรับบุคคลหลาย ๆ คน อาจจะยากง่ายไม่เหมือนกัน ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบต้องตัดสินใจ ว่าจะใช้วิธีใดที่เหมาะสมที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น