วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นักเรียน ม1 ตอบคำถามต่อไปนี้

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในหน่วยส่งออก
    ก. จอภาพ
    ข. ลำโพง
    ค. เครื่องพิมพ์
    ง.  ซีพียู
2. ข้อใดต่อไปนี้จัดเป็นหน่วยความจำหลัก
    ก.  แผ่นบันทึก (floppy disk)
    ข.  
    ฮาร์ดดิสก์
    ค.  
    แรม
    ง.  
    แผ่นซีดี
3. ข้อใดต่อไปนี้จัดอยู่ในหน่วยประมวลผล
    ก.  จอยสติก
    ข.  
    แรม
    ค.  
    ซีพียู
    ง.  
    รอม
4. ข้อใดต่อไปนี้จัดอยู่ในหน่วยความจำรอง
    ก.  รอม
    ข.  
    รอม
    ค.  
    ฮาร์ดดิสก์
    ง.  
    Mainboard
5. อุปกรณ์ในข้อใดจัดอยู่ในหน่วยรับเข้า
    ก.  เครื่องพิมพ์
    ข.  
    คีย์บอร์ด
    ค.  
    ซีพียู
    ง.  
    จอภาพ
6. อุปกรณ์ในข้อใดทำหน้าที่เหมือนกัน
    ก.  เม้าส์ ,จอ
    ข.  
    คีบอร์ด ,เครื่องพิมพ์
    ค.  
    เม้าส์ ,คีบอร์ด
    ง.  
    แทรกบอล ,จอ
7. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับไมโครโพเซสเซอร์
    ก.   หน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร
    ข.  
     เป็นหน่วยประมวลผลกลาง
    ค.  
     คือหน่วยความจำหลัก
    ง.  
    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซีพียู
8. ข้อใดไม่เข้ากลุ่ม
    ก. พรอทเตอร์
    ข.
    พริ้นเตอร์
    ค. แสกนเนอร์
    ง.  
    โปรแจ็กเตอร์
9. อุปกรณ์ใดทำหน้าที่ต่างกัน
    ก. ฮาร์ดดิสก์,  CD-ROM
    ข.  
    พริ้นเตอร์, แสกนเนอร์
    ค.
    แรม, รอม
    ง.  
    เมาส์,  แทรกบอล
10. อุปกรณ์ใดเปรียบเสมือนสมองของมนุษย์         ก. หน่วยความจำหลัก
          ข.
หน่วยความจำรอง
          ค.
ซีพียู
          ง.
หน่วยรับเข้า

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำ


โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำ
เป็นโครงสร้างที่มีการประมวลผลกลุ่มคำสั่งซ้ำหลายครั้ง ตามลักษณะเงื่อนไขที่กำหนด อาจเรียก การทำงานซ้ำแบบนี้ได้อีกแบบว่า การวนลูป ( Looping ) โครงสร้างแบบการทำงานซ้ำนี้จะมีอยู่ ประเภท คือ
DO WHILE
DO UNTIL

DO WHILE
เป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน


ผังงานกับชีวิตประจำวัน


ผังงานกับชีวิตประจำวัน
การทำงานหลายอย่างในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะที่เป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งก่อนที่ท่านจะได้ศึกษาวิธีการเขียนผังงานโปรแกรม จะแนะนำให้ท่านลองฝึกเขียนผังงานที่แสดงการทำงานในชีวิตประจำวันวันก่อนเพื่อเป็นการสร้างความคุ้น เคยกับสัญลักษณ์รูปภาพต่าง ๆ ที่จะมีใช้ในผังงานโปรแกรมต่อไป

ตัวอย่าง เขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย



การเขียนผังงาน ( Flowchart )


การเขียนผังงาน ( Flowchart )

ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ประโยชน์ของผังงาน
 ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
 ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
 ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
 ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น

วิธีการเขียนผังงานที่ดี
ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
คำอธิบายในภาพควรสั้นกะทัดรัด และเข้าใจง่าย
ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก
ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม

วิธีการตัดสินใจแบบตาราง (Decision Tables )


วิธีการตัดสินใจแบบตาราง (Decision Tables )
วิธีการตัดสินใจแบบตารางเป็นตารางแบบ มิติ โดยที่แถวตั้งด้านซ้ายเป็นเงื่อนไข และแถวนอนเป็นรายละเอียดของเงื่อนไขและผลของการตัดสินใจ เงื่อนไขก็คือ สิ่งที่มีค่าเปลี่ยนแปลงได้ เช่น จำนวนเงินในใบทวงหนี้ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าควรตัดสินใจอย่างไร เช่น ถ้าจำนวนเงินต่ำกว่า 25,000 บาท ไม่ต้องรอการอนุมัติจ่ายเงิน เป็นต้น
เงื่อนไข
การตัดสินใจ
จำนวนเงินในใบทวงหนี้
< 25,000
อนุมัติจ่ายเงิน
Y

การอธิบายการประมวลผล (Process Description)


การอธิบายการประมวลผล (Process Description)

การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้โดยการใช้แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) โดยการเขียนสัญลักษณ์การประมวลผลนั้นจะเขียนเพียงหัวข้อในการประมวลผลเท่านั้น ยังไม่มีการเขียนคำอธิบายโดยละเอียด ซึ่งเราสามารถเขียนอธิบายโดยละเอียดได้ด้วยการเขียนคำอธิบายการประมวลผล (Process Description) หรือ Process Specification
จุดประสงค์ของการเขียน Process Specification เพื่อใช้เป็นสื่อระหว่างผู้ใช้ระบบโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ ได้เข้าใจตรงกันในการประมวลผลนั้น โดยโปรแกรมเมอร์จะเข้าใจการประมวลผลนั้นเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะในกรณีของการมีโปรแกรมเมอร์หลายคนในการเขียนโปรแกรมในการสื่อให้เข้าใจตรงกัน ส่วนผู้ใช้ระบบจะได้เห็นถึงผลการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ระบบว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การใส่ไฟล์มัลติมีเดีย เช่น ไฟล์เสียง เพลง, Video, Flash


การใส่ไฟล์มัลติมีเดีย เช่น ไฟล์เสียง เพลง, Video,  Flash   
            เราสามารถใส่ไฟล์เพลง, ไฟล์ video หรือไฟล์ flash ลงไปในหน้าเว็บเพจได้ ด้วยคำสั่ง <embed>  
            <embed> เป็นคำสั่งแสดงการทำงานของโปรแกรม plug-in โดยนำไปผนวกกับเอกสาร HTML และอาจใส่ tag <noembed> ควบคู่ไปด้วย เผื่อเว็บเบราเซอร์์รุ่นเก่าที่ยังไม่ support tag <embed> นี้.
                    โครงสร้างของคำสั่งการแทรกไฟล์ Multimedia
<embed src="url ไฟล์" width="number" height="number" >
<noembed><img src="url ไฟล์รูปภาพที่ให้แสดงเมื่อใช้ embed ไมได้" ></noembed>
</embed>
        
                            คำสั่งเสริม สำหรับ <embed>
                            - src="url"   url ของไฟล์ที่จะให้เล่น ได้แก่ ไฟล์เสียง (เช่น .mid, .wav, .mp3) ไฟล์ vedio (เช่น .avi, wmv, mov, mpeg) และไฟล์ Flash movie ( .swf)
                            - width="no"   กำหนดขนาดความกว้างของตัว player
                            - height="no"  กำหนดขนาดความสูงของตัว player
                            - align="top | middle | bottom | left | right"   จัดวางตำแหน่งให้กับวัตถุ ที่อยู่ข้างๆ ตัว player
                            - name="ชื่อ"   ชื่ออ้างอิงของวัตถุ
                            - autostart="true | false"   เมื่อโหลดเว็บเพจแล้ว ให้เล่นอัตโนมัติหรือไม่
                            - loop="true | false | number"  กำหนดเป็น true เมื่อต้องการให้เล่นซ้ำไปเรื่อยๆ หรือกำหนดเป็นตัวเลข จำนวนรอบที่ต้องการให้เล่นซ้ำ่
                            - playcount="no"  จำนวนรอบที่ให้เล่น (ใช้ได้เฉพาะ IE)
                            - hidden="true | false"   ให้ซ่อน หรือแสดงตัว player
                            - volume="0 ถึง 100"   กำหนด volume ของเสียง (ใช้ได้เฉพาะ Netscape)

                 การแทรกไฟล์เสียง

                    ตัวอย่างการใช้คำสั่ง  เล่นไฟล์เสียง
<embed src="รักแท้ดูแลไม่ได้.mp3" width="100%" height="60">
<noembed><img src="nosupport.gif" ></noembed>
</embed>

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                       แบบกำหนดตัวเชื่อม 
<A HREF="ชื่อไฟล์.นามสกุล">คำอธิบาย</A>
                                    เป็นการใส่เพลงโดยการกำหนดตัวเชื่อม ในช่องว่าง ๆให้ใส่ตำแหน่งไฟล์เสียง ลงไป ส่วนตรง "คำอธิบาย" ให้ใส่ข้อความที่สื่อความหมายให้รู้ว่า ตัวเชื่อมนี้ เป็นไฟล์เพลง เช่น "เพลงแสนสนุก" 
                                            ตัวอย่าง
<A HREF="รักแท้ดูแลไม่ได้.mp3"> คลิกเพื่อเชื่อมไปยังเพลงนี้ </a>
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                    การแทรกวีดิโอ

                       ใส่ไฟล์วีดิโอให้เว็บเพจ (สำหรับ Internet Explorer)
<IMG DYNSRC="....." SRC="......" ALT="......" LOOP=n START=FILEOPEN/MOUSEOVER >
                                        เป็นรูปแบบการใส่ไฟล์วีดิโอของ Internet Explorer โดยมีลักษณะคำสั่งดังนี้
                                        - DYNSRC="......" ให้ใส่ชื่อไฟล์วีดิโอลงไป เช่น video.avi
                                        - SRC="......" ให้ใส่ไฟล์รูปภาพ ไว้ เป็นตัวแทน ไฟล์วีดิโอนั้น ๆ เมื่อบราวเซอร์ ผู้ใช้ไม่สนันสนุน
                                        - ALT="......" ใส่ข้อความใด ๆ ก็ได้ลงไปเพื่อ ให้ผู้ใช้ที่ ไม่สามารถดูวีดิโอ สามารถรู้ข้อมูลได้
                                        - LOOP=n กำหนดจำนวนครั้งที่จะให้วีดิโอเล่น ใส่เป็นตัวเลขหรือ infinite ก็ได้
                                        - START=FILEOPEN/MOUSEOVER โดย fileopen เป็นการกำหนด ให้เริ่มเล่นทันที ที่ไล์วีดีโอโหลดเสร็จ (ปกติแล้ววีดิโอจะถูกเล่น ทันทีที่ดาวน์โหลดเสร็จ ดังนั้น -STRAT=FILEOPEN จึงไม่ต้องใส่ก็ได้) mouseover เป็นการกำหนด ให้เล่นวีดิโอ เมื่อเอาเมาส์ไปวางบนวีดีโอนั้น ๆ
                                            ตัวอย่าง
<IMG DYNSRC="SPORT.AVI" SRC=PICTURE.GIF ALT="ทดสอบการใช้ไฟล์วีดีโอ(IE)" LOOP="2">

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                        การแทรกไฟล์ Flash  
                    วิธีการแทรกไฟล์เฟลชนั้นจะใช้คำสั่งแบบเดียวกับการแทรกไฟล์เสียง โดยการใช้คำสั่ง <Embed> ไฟล์เฟลชส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ในลักษณะของเกมส์จะมีนามสกุลไฟล์เป็น .SWF

                                              ตัวอย่าง

<embed src="paint.swf" width="100%" height="250">
<noembed><img src="nosupport.gif" ></noembed>
</embed>

 
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การแบ่งจอภาพออกเป็นส่วน ๆ หรือ ที่เรียกว่า เฟรม(frame)


การแบ่งจอภาพออกเป็นส่วน ๆ หรือ ที่เรียกว่า เฟรม(frame) 
                เฟรมถือว่าเป็นคำสั่งหนึ่งใน การเขียน HTML โดยเฟรมจะช่วยให้สามารถแสดงผลไฟล์ HTML หลาย ๆ ไฟล์ได้พร้อม ๆ กัน ภายใต้ เว็บเพจ เดียวกัน ตามปกติแล้วหนึ่งเว็บเพจเราจะมีไฟล์ HTML อยู่ไฟล์เดียว แต่ถ้าเราต้องการ แบ่งหน้าจอของเว็บเพจ ให้เป็น 3 - 4 ส่วน โดยแต่ละส่วน มีความเป็นอิสระของตัวเอง คำสั่งเฟรม จะช่วยในการจัดงานดังกล่าว 

                ในปัจจุบัน เฟรมเป็นคำสั่ง ที่ได้รับความนิยม อย่างมาก ในการนำมาใช้ ตกแต่ง เอกสาร HTML โฮมเพจ ส่วนใหญ่ จะนำเฟรม มาเพิ่มใส่ใน HTML เพื่อปรับแต่ง ให้พอดูดีขึ้น อย่าง เช่น การนำเฟรมมาใช้ ในการล็อคให้ โฮมเพจ ของเรา มีส่วนหัว และส่วนท้าย เหมือน ๆ กันทุก หน้าจอ คล้าย ๆ กับ การพิมพ์ จดหมาย ที่มีหัว กระดาษ ท้านกระดาษ หรือการ นำเฟรม มาทำ เป็นเมนู ซึ่งเราสามารถ บังคับให้เฟรม ที่บรรจุ เมนู อยู่โดย ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอีก เฟรมหนึ่ง ก็แสดง เนื่อหากันไป 

        การสร้างชุดของ Frame จะใช้ tag <frameset> และกำหนด Frame แต่ละหน้าด้วย tag <frame> มี attribute สำหรับปรับแต่ง Frame ได้แก่
                - noresize กำหนดไม่ให้ผู้ใช้ปรับขนาด Frame ได้
                - frameborder="yes | no"  ปกติจะมีกรอบของ frame คั่นระหว่าง frame อยู่ แต่ถ้าไม่ต้องการให้เห็น กำหนดค่าเป็น "no"
                - marginheight="number"   กำหนดระยะห่าง frame จากขอบหน้าต่างแนวตั้ง
                - marginwidth="number"  กำหนดระยะห่าง frame จากขอบหน้าต่างแนวนอน
                - scrolling="yes | no | auto"   ถ้าหน้าเว็บเพจยาวจะมีตัวเลื่อนโดยอัตโนมัติ ค่าปกติ"auto" ถ้าไม่ต้อง การให้มีตัวเลื่อน ให้กำหนดเป็น "no"
                - name กำหนดชื่อ ให้กับเฟรมเพื่อใช้เป็นเป้าหมายให้กับ คำสั่ง Link
----------------------------------------------------------------------------------------------
                            โครงสร้างของคำสั่งการแบ่งหน้าจอแสดงผล (FRAME)
                                    รูปแบบคำสั่ง 
<HTML>
<TITLE>....................</TITLE>
<FRAMESET ROWS[หรือ COLS]="number,number">
<FRAME src="ชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดงผล หรือ URL">
<FRAME src="ชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดงผล หรือ URL">
</FRAMESET>
                                                     โดยที่...
                                                        ROWS = แบ่งแนวนอน
                                                        COLS = แบ่งแนวตั้ง
                                                        number = ตัวเลข เป็น pixels หรือ ตัวเลขเป็น % หรือ * (หมายถึงจำนวนที่เหลือ)



                                      ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<TITLE>การแบ่งจอภาพ ( FRAME )</TITLE>
<FRAMESET ROWS="20%,*">
<FRAME src="logo.html" >
<FRAME src="main.html">
</FRAMESET>
</HTML>

                                         การแสดงผล

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                                            ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<TITLE>การแบ่งจอภาพ ( FRAME )</TITLE>
<FRAMESET COLS="20%,*">
<FRAME src="menu.html" >
<FRAME src="main.html">
</FRAMESET>
</HTML>
                                               การแสดงผล


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                                                ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<TITLE>การแบ่งจอภาพ ( FRAME )</TITLE>
<FRAMESET COLS="100,600">
<FRAME src="menu.html" >
        <FRAMESET ROWS="20%,*">
         <FRAME src="logo.html" >
         <FRAME src="main.html">
</FRAMESET>
</HTML>
                                                 การแสดงผล
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจ

การเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจ  คือการกำหนดส่วนของข้อความที่ต้องการ  หรือรูปภาพที่ได้เลือกไว้เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาจุดอื่น ๆ   ซึ่งเนื้อหาที่เชื่อมโยงไปนั้นอาจจะอยู่ภายในหน้าเดียวกันหรืออยู่คนละหน้าก็ได้  หรืออาจอยู่คนละเว็บไซต์ก็ได้   การเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจจะประกอบด้วยส่วนประกอบ สำคัญ 2 ส่วน  คือ
                       1.  จุดที่ใช้สำหรับเชื่อมโยง (Link) เป็นส่วนที่ใช้เป็นจุดเชื่อมโยงไปยังเป้าหมายปลายทางอาจเป็นรูปภาพหรือข้อความก็ได้
                       2.  เป้าหมาย (Target)  เป็นส่วนปลายทางหรือจุดที่ต้องการให้เชื่อมโยงมาถึง  จะอยู่ส่วนใดของเอกสารก็ได้แล้วแต่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนด
---------------------------------------------------------------             
                      การสร้างการเชื่อมโยงสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
                            1.การเชื่อมโยงภายในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
                            2.การเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจอื่น ๆ
                            3.การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ
                            4.การเชื่อมโยงไปยังแฟ้มข้อมูลประเภทต่าง ๆ
                            5.การเชื่อมโยงเพื่อส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
                    1.การเชื่อมโยงภายในหน้าเว็บเพจเดียวกัน  ใช้ในกรณีที่เราต้องการให้มีจุดเชื่อมโยงในหน้าเดียวกัน เมื่อคลิกเมาส์ที่จุดเชื่อมโยงแล้วมีการเลื่อนตำแหน่งขึ้นหรือลงไปจากตำแหน่งเดิม สามารถสร้างการเชื่อมโยงได้ดังนี้
                        1.1 สร้างการเชื่อมโยงด้วยแอททริบิวต์ href ดังต่อไปนี้
<a href="#ชื่อจุดเชื่อมโยง">....ข้อความที่ปรากฎบนหน้าเว็บเพจ....</a>
                    ข้อสังเกต ในขั้นตอนของการสร้างการเชื่อมโยง หน้าชื่อจุดเชื่อมโยงต้องมีเครื่องหมาย 
                        1.2 สร้างจุดเชื่อมโยงในหน้าเว็บเพจด้วยแอททริบิวต์ name ดังต่อไปนี้ :  <a name="ชื่อจุดเชื่อมโยง">ข้อความที่ปรากฎบนหน้าเว็บเพจในบรรทัดแรกของข้อมูลนั่นๆ</a>
<a name="ชื่อจุดเชื่อมโยง">ข้อความที่ปรากฎบนหน้าเว็บเพจในบรรทัดแรกของข้อมูลนั่นๆ</a>
                    ข้อสังเกต ในขั้นตอนของการสร้างจุดเชื่อมโยง ชื่อจุดเชื่อมโยงไม่ต้องมีเครื่องหมาย 
                                 หมายเหตุ ชื่อจุดเชื่อมโยงนักเรียนสามารถตั้งขึ้นมาเองเป็นอักษรภาษาอังกฤษ และห้ามซ้ำกันในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
                ตัวอย่างการสร้างการเชื่อมโยงภายในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
<html>
<head>
<title>การสร้างการเชื่อมโยง (Link) </title>
</head>
<body>
การสร้างการเชื่อมโยงในหน้าเว็บเพจเดียวกัน <br>
<hr>
<a href="#link1">1.หลักการสร้างเว็บเพจ</a><br>
<a href="#link2">2.การจัดรูปแบบตัวอักษร</a><br>
<a href="#link3">3.การใช้งานรูปภาพบนเว็บเพจ</a><br>
<hr>
<a name="link1">หลักการสร้างเว็บเพจ</a>
<br>
...........................<p>
...........................<p>
<a name="link2">การจัดรูปแบบตัวอักษร</a>
<br>
...........................<p>
...........................<p>
<a name="link3">การใช้งานรูปภาพบนเว็บเพจ</a>
<br>
...........................<p>
...........................<p>
</body>
</html>
---------------------------------------------------------------       
                          2.  การเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจอื่น ๆ คือ การเชื่อมโยงไปยังจุดเชื่อมโยงที่อยู่คนละหน้าเว็บเพจกัน  มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
         <a href="ชื่อไฟล์เว็บเพจ.นามสกุล">...ข้อความที่ปรากฎบนหน้าเว็บเพจ...</a>
                                       
                                ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมเชื่อมโยงไปหน้าเว็บเพจอื่น (ต้องมีเว็บเพจที่สร้างไว้แล้ว มากกว่า 1 หน้าและถูกจัดเก็บไว้ที่เดี่ยวกัน)
<html>
<head>
<title>การสร้างการเชื่อมโยง (Link) </title>
</head>
<body>
การสร้างการเชื่อมโยงในหน้าเว็บคนละหน้า <br>
<hr>
<a href="page1.html">1.หลักการสร้างเว็บเพจ (page1.html) </a><br>
<a href="page2.html">2.การจัดรูปแบบตัวอักษร (page2.html) </a><br>
<a href="page3.html">3.การใช้งานรูปภาพบนเว็บเพจ (page3.html)</a><br>
<hr>
</body>
</html>
---------------------------------------------------------------       
                            3.  การเชื่อมโยงไปยังเว็บไชต์อื่น ๆ  เราสามารถสร้างการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ได้ โดยใช้แท็กดังต่อไปนี้
<a href="URL หรือที่อยู่ของเว็บไวต์ที่ต้องการ">ข้อความที่ปรากฎบนหน้าเว็บเพจ</a>
                                        ดังที่เราจะเห็นในเว็บไซต์ต่างๆที่มีการเชื่อมโยงไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้นนักเรียนมาทดลองทำตามตัวอย่างด้านล่างดูในตัวอย่างนั้นจะทำการเชื่อมโยง ไปยังมหาวิทยาลัย  แห่งด้วยกัน คือ
                                                                1.มหาวิทยาลัยศิลปากร                          โดยที่ URL คือ http://www.su.ac.th
                                                                2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์                  โดยที่ URL คือ http://www.ku.ac.th
                                                                3.มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง    โดยที่ URL คือ http://www.mcru.ac.th
                                                                4.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี               โดยที่ URL คือ http://www.pbru.ac.th
                                   ตัวอย่างการสร้างการเชื่อมโยงไปยังเว็บไชต์อื่น ๆ 
<html>
<head>
<title>การสร้างการเชื่อมโยง (Link) </title>
</head>
<body>
การสร้างการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ <br>
<hr>
<a href="http://www.su.ac.th">1.มหาวิทยาลัยศิลปากร </a><br>
<a href="http://www.ku.ac.th">2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ </a><br>
<a href="http://www.mcru.ac.th">3.มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง</a><br>
<a href="http://www.pbru.ac.th">4.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี</a><br>
<hr>
</body>
</html>
---------------------------------------------------------------       
                          เพิ่มเติม  การนำรูปภาพมาเป็นชุดเชื่อมโยง สามารถนำรูปภาพมาเป็นจุดเชื่อมโยงได้ เพียงแค่เปลี่ยนข้อความที่ปรากฎบนหน้าเว็บเพจเป็นแท็กที่ใช้แสดงรูปภาพแทนดังนี้
<a href="http://www.su.ac.th"><img src="sea.jpg"></a>
                                    ตัวอย่างการสร้างการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยใช้รูปภาพ
<html>
<head>
<title>การสร้างการเชื่อมโยง (Link) </title>
</head>
<body>
การสร้างการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ โดยใช้รูปภาพ <br>
<hr>
<a href="http://www.su.ac.th"><img src="comp4.gif"></a><br>
เป็นการนำรูปภาพมาเป็นชุดเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ ม.ศิลปากร <br>
<hr>
</body>
</html>
---------------------------------------------------------------   
                            4.การเชื่อมโยงไปยังไฟล์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอกสาร HTML
                                  นักเรียนจะเห็นจากบางเว็บไซต์มีการการลิงค์เพื่อให้ทำการ Download ข้อมูลต่าง ๆ  เช่น  ไฟล์รูปภาพ, ไฟล์โปรแกรม , ไฟล์ซิป  (.zip)    และไฟล์เสียง  เป็นต้น การสร้างชุดเชื่อมโยงหรือลิงค์ก็คล้ายกับวิธีที่กล่าวมาเพียงแต่ว่าถ้าหาก ไฟล์จุดหมายปลายทางเป็นไฟล์ประเภทใดเบราว์เซอร์ก็จะทำงาน ให้สอดคล้องกับไฟล์ ประเภทนั้น เช่น หากไฟล์จุดหมายปลายทางที่สร้างลิงค์ไว้เป็นรูปภาพ เบราว์เซอร์ก็จะเปิดรูป ภาพนั้นให้ดู  แต่ถ้าเป็นไฟล์ ประเภทอื่น นัักเรียนก็จะพบหน้าจอ ของการดาวน์โหลด (Download) รูปแบบคำสั่งหรือแท็กที่ใช้เป็นดังนี้้
        <a href="ชื่อไฟล์.นามสกุล">ข้อความที่ปรากฎบนหน้าเว็บเพจ</a>
                                ตัวอย่างการสร้างการเชื่อมโยงไปยังไฟล์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ ไฟล์ HTML
<html>
<head>
<title>การสร้างการเชื่อมโยง (Link) </title>
</head>
<body>
การสร้างการเชื่อมโยงไปยังไฟล์รูปภาพชื่อ sea.jpg และเว็บไซต์อื่นๆ <br>
<hr>
<a href="sea.jpg">ภาพสวย ๆ</a> เป็นการเชื่อมโยงไปยังไฟล์รูปภาพชื่อ sea.jpg <br>
<a href="mydoc1.doc">ไฟล์เอกสาร</a>เป็นการเชื่อมโยงไปยังไฟล์เอกสาร mydoc1.doc<br>
<a href="http://www.ku.ac.th">มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ </a><br>
<a href="http://www.mcru.ac.th">มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง</a><br>
<a href="http://www.pbru.ac.th">มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี</a><br>
<hr>
</body>
</html>
---------------------------------------------------------------   
                            5.การเชื่อมโยงเพื่อส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
                                    นักเรียนสามารถให้ผู้เข้าชมเว็บของเราสามารถติดต่อสื่อสารเราได้ อาจเป็นการส่งคำติชมการสร้างเว็บ หรือการแจ้งข่าวสารให้ผู้สร้างเว็บเพจทราบ เป็นการสื่อสาร แบบ 2 ทาง (Two-way Communication) สามารถทำได้ดังนี้
   <a href="mailto:ชื่ออีเมล์แอดเดรส"> ข้อความลิงค์ที่ปรากฎบนหน้าเว็บเพจ </a>
                                    ตัวอย่างการสร้างการเชื่อมโยงเพื่อส่ง E-mail
<html>
<head>
<title>การสร้างการเชื่อมโยง (Link) เพื่อส่ง E-mail </title>
</head>
<body>
การสร้างการเชื่อมโยงเพื่อส่ง E-mail <br>
<hr>
<a href="mailto:webmaster@thaimail.com">ส่งความเห็นไปยังผู้ดูแลระบบ</a>
<hr>
</body>
</html>
---------------------------------------------------------------  
                                การกำหนดสีของจุดเชื่อมโยงหรือลิงค์
                                    การสร้างการเชื่อมโยง โดยปกติเมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่จุดเชื่อมโยง นอกจากสัญลักษณ์ของเมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือแล้วข้อความที่เป็นจุดเชื่อมโยง หรือลิงค์ ยังมีขีดเส้นใต้หรือบางครั้งก็มีสีที่แตกต่างออกไปจากข้อความปกติและเมื่อ คลิกเมาส์เข้าไปแล้วข้อความที่เป็นลิงค์ที่เราเคยคลิกไปแล้วก็อาจเปลี่ยน เป็นอีกสีหนึ่งได้เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากข้อความปกติและเป็นการบอก ให้ทราบว่าได้เคยคลิกไปที่จุดเชื่อมโยงใดแล้วบ้าง ซึ่งผู้สร้างเว็บเพจสามารถ กำหนดสีของจุดเชื่อมโยงได้เองดังนี้
                                            1.สีของชุดเชื่อมโยงหรือลิงค์ที่ยังไม่เคยถูกคลิก (Hyperlink) ใช้แอททริบิวต์ link 
                                            2.สีของชุดเชื่อมโยงหรือลิงค์ที่เคยถูกคลิกไปแล้ว (Visited Hyperlink) ใช้แอททริบิวต์ vlink
                                            3.สีของชุดเชื่อมโยงหรือลิงค์ตอนที่ถูกคลิก (Active Link) ใช้แอททริบิวต์ alink
        <body link="ค่าสี" vlink="ค่าสี" alink="ค่าสี">
                                    ตัวอย่างการกำหนดสีชุดเชื่อมโยงหรือลิงค์
<html>
<head>
<title>การกำหนดสีชุดเชื่อมโยง (Link)</title>
</head>
<body link="green" vlink="blue" alink="red">
การกำหนดสีชุดเชื่อมโยง โดยที่ <br>
1.ลิงค์ที่ยังไม่เคยถูกคลิกจะเป็นสีเขียว (link) <br>
2.ลิงค์ที่เคยถูกคลิกไปแล้วจะเป็นสีน้ำเงิน (vlink) <br>
3.ลิงค์ที่กำลังถูกคลิกจะเป็นสีแดง (alink) <br>
<hr>
<a href="sea.jpg">ภาพสวย ๆ</a> เป็นการเชื่อมโยงไปยังไฟล์รูปภาพชื่อ sea.jpg <br>
<a href="mydoc1.doc">ไฟล์เอกสาร</a>เป็นการเชื่อมโยงไปยังไฟล์เอกสาร mydoc1.doc<br>
<a href="http://www.ku.ac.th">มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ </a><br>
<a href="http://www.mcru.ac.th">มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง</a><br>
<a href="http://www.pbru.ac.th">มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี</a><br>
<hr>
<a href="mailto:webmaster@thaimail.com">ส่งความเห็นไปยังผู้ดูแลระบบ</a>
<hr>
</body>
</html>